02-056-3333
ศูนย์รักษาโรค> รอบรู้เรื่องตา

อีกขั้นของการรักษาโรคเบาหวานขึ้นจอตาและโรคจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวาน

โรคเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy หรือ DR) และ โรคจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวาน (Diabetic Macular Edema หรือ DME)

โรค DR และ DME คือ อะไร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของผนังหลอดเลือด ทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดและมีอาการขาดเลือด มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ดวงตา ระยะแรกเรียกว่า DR (Diabetic Retinopathy) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด นำไปสู่ภาวะสูญเสียการมองเห็นและตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน ระยะหลัง เรียกว่า DME (Diabetic Macular Edema) เป็นภาวะแทรกซ้อนของ DR เมื่อเวลาผ่านไป ประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่เป็น DR จะพัฒนาเป็นโรค DME

ดวงตาที่ได้รับผลกระทบจากโรค DME

มีโปรตีน 2 ประเภทที่เป็นสาเหตุของการบวมในดวงตา ได้แก่ VEGF และ Ang-โดยโปรตีนทั้งสองทำให้หลอดเลือดมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ไม่แข็งแรง ทำให้มีของเหลวรั่วไหลออกจากหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองในผู้ป่วย DME ได้



ปัจจัยเสี่ยงของโรค

1. เบาหวานทุกประเภท มีโอกาสพัฒนาเป็น DR
2. ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง เพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาเป็น DR หรือ DME
3. ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน มีความเสี่ยงในการพัฒนาเป็น DR หรือ DME มากขึ้น
4. การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาเป็น DM หรือ DME
5. ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดเล็กๆของดวงตา
6. พันธุกรรม ความเสี่ยงสูงขึ้น หากคนในครอบครัวสายตรงมีประวัติโรค DR หรือ DME

อาการของโรค

1. เห็นภาพลอย
2. การมองเห็นพร่ามัว
3. เห็นภาพซ้อน
4. มองเห็นสีซีดจาง



ตารางเปรียบเทียบการรักษาโรค DME


ข้อควรปฏิบัติเพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด
  • ลดปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยได้แก่ การคุมระดับน้ำตาลในเลือด การคุมความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือด งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
     
  • ผู้ป่วยควรต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ผู้ป่วยควรมาพบจักษุแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
     
  • ช่วงแรกควรฉีดยาทุก 4 สัปดาห์ เป็นเวลา 3 - 4 ครั้ง (หรือขึ้นกับการประเมินของจักษุแพทย์)  หลังจากนั้นความถี่ในการฉีดยาขึ้นกับการตอบสนองต่อการรักษาและการประเมินของจักษุแพทย์