02-056-3333

โรคตาเด็ก

การมองเห็นของเด็กและพัฒนาการของสายตา
เมื่อแรกเกิด เด็กยังมองเห็นได้ไม่ชัดเท่ากับผู้ใหญ่ แต่จะค่อยๆมีพัฒนาการมองเห็นจากลางๆ ไปจนเห็นได้ชัดเจนเท่ากับสายตาผู้ใหญ่ เมื่อมีอายุเฉลี่ยประมาณ 4-5 ปี พฤติกรรมการมองเห็นของเด็กในแต่ละวัยสามารถสังเกตได้ตามช่วงอายุ ดังนี้
แรกเกิด – 3 เดือน
ช่วงอายุนี้การมองเห็นของเด็กยังเลือนลางมาก และเด็กยังไม่มองตามวัตถุ
มีแต่หลับตาและหันศีรษะหนีแสงจ้าๆ บางครั้งอาจดูเหมือนมีตาเหล่
แต่มักจะหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น
อายุ 3 เดือนขึ้นไป
เด็กเริ่มมีการมองตามวัตถุในระยะใกล้ๆ โดยเฉพาะใบหน้าของ
คุณพ่อ
คุณแม่ และเริ่มมีพัฒนาการการมองเห็นภาพสามมิติ อายุช่วงนี้หากเด็ก
มีตาเหล่ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน
อายุ 6 เดือนขึ้นไป
เด็กสามารถมองตามวัตถุทั้งใกล้และไกลได้อย่างคล่องแคล่ว
เริ่มสนใจ
สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว และมองเห็นภาพสามมิติได้เหมือนสายตาผู้ใหญ่ทั่วไป
อายุ 4-5 ปี
เด็กสามารถอ่านตัวเลขได้ปกติเท่ากับผู้ใหญ่
วิธีการถนอมสายตาเด็ก
  1. ควรอ่านหนังสือในที่ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่สลัวหรือจ้าจนเกินไป
  2. อย่านอนอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะนอนคว่ำหรือนอนหงาย เพราะแรงโน้มถ่วง จะ

    ทำ

    ให้หน้าอยู่ใกล้กับหนังสือมากเกินไป

    ทำ

    ให้ต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าปกติจนอาจเกิดอาการปวดตาได้
  3. อย่าอ่านหนังสือหรือเล่นเกมในรถ เพราะจะต้องเพ่งสายตามากกว่าปกติ และการสั่นสะเทือน ของรถจะ

    ทำ

    ให้สายตาล้าได้ง่าย
  4. อย่าเล่นวิดีโอเกม คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เกม ดูทีวี หรือวิดีโอ ติดต่อกันนานเกินไป ควรพักสายตาเป็นระยะๆ ด้วยการมองไปที่ไกลๆ
  5. แสงของหน้าจอจะต้องไม่จ้าจนเกินไป ควรปรับให้แสงนวลพอเหมาะรวมทั้งมีแสงสว่าง
    ภายในห้องพอสมควร
    ไม่ควรอาศัยแสงจากหน้าจอเพียงอย่างเดียว
  6. ควรสนับสนุนให้เด็กออกไปเล่นกลางแจ้งบ้าง อย่าใช้คอมพิวเตอร์หรือดูทีวีทั้งวัน
    โดยเฉพาะช่วงเวลาปิดเทอม
สารพันปัญหาโรคตาเด็ก

สายตาขี้เกียจ

คือ ภาวะที่ตามองเห็นภาพไม่ชัด เนื่องจากเด็กใช้ตาข้างนั้นน้อยเกินไป ดวงตาก็เหมือนอวัยวะอื่นๆ ถ้าไม่ได้ใช้งานเลยสมรรถภาพก็จะลดลง

จนอาจถึงขั้นบอดไปในที่สุด


สาเหตุของตาขี้เกียจอาจเกิดได้จาก
  • เด็กมีสายตา 2 ข้างไม่เท่ากัน เช่น ตาขวาปกติแต่ตาซ้ายสั้น - 5.00 เด็กจึงใช่แต่ตาข้างขวา
    ที่มองเห็นชัดกว่า

    ทำ

    ให้ดวงตาอีกข้างเกิดภาวะตาขี้เกียจ
  • เด็กมีตาเหล่ เด็กที่มีตาเหล่จะใช้ตาทีละข้างในการมองเห็น และในบางคนจะใช้ตาข้างที่ถนัดเพียงข้างเดียว
    เช่น ใช้แต่ตาขวา

    ทำ

    ให้ตาขวานั้นตรง แต่ตาซ้ายเหล่ตลอด ในกรณีเช่นนี้ตาซ้ายจะ

    ทำ

    งานน้อยกว่าตาขวามาก

    ทำ

    ให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ
  • เด็กมีปัญหาในตาข้างใดข้างหนึ่ง เช่น หนังตาตกมากจนปิดตาข้างหนึ่ง หรือเป็นต้อกระจกข้างเดียว ฯลฯ
    เด็กจะใช้แต่ตาข้างที่ดี

    ทำ

    ให้ตาอีกข้างหนึ่งเป็นตาขี้เกียจได้
การรักษา

ทำ

ได้โดยการบังคับให้เด็กใช้ตาข้างที่มีปัญหามากขึ้น ซึ่งจักษุแพทย์อาจใช้วิธีปิดตาข้างที่ดี หรือใช้ยาหยอดตา เพื่อให้สายตามัวลง

ทำ

ให้เด็กต้องใช้ตาข้างที่ขี้เกียจโดยปริยาย การ

ทำ

เช่นนี้จะช่วยให้สายตาดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการปิดตาเด็กนั้นควรปิดตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะหากปิดตาตอนที่เด็กมีอายุมากขึ้นเท่าใด
ก็จะยุ่งยากและเห็นผลได้ช้าขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุมากกว่า 9 ปี อาจจะไม่ได้ผลเลย