02-056-3333
ศูนย์รักษาโรค> รอบรู้เรื่องตา

อีกขั้นของการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ แบบมีหลอดเลือดงอกผิดปกติ (แบบเปียก)

โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) คืออะไร

โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) คือ ภาวะทางดวงตาที่ส่งผลต่อการมองเห็นในระยะยาว เป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มี 2 แบบ ระยะต้น คือ แบบแห้ง (Dry AMD) และ ระยะสุดท้าย คือ แบบเปียก (Wet AMD or nAMD) หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา โรค AMD แบบแห้งสามารถพัฒนาไปสู่ AMD แบบเปียก และทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

ดวงตาที่ได้รับผลกระทบจากโรคจอประสาทตาเสื่อม (แบบเปียก)

มีโปรตีน 2 ประเภทที่เป็นสาเหตุของการบวมในดวงตา ได้แก่ VEGF และ Ang-2 โดยโปรตีนทั้งสองนี้จะทำให้หลอดเลือดมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ไม่แข็งแรง ทำให้มีของเหลวรั่วไหลออกจากหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบเปียก ได้



ปัจจัยเสี่ยงของโรค

1. อายุ ความเสี่ยงของโรค AMD สูงขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี เป็นโรค AMD
2. พันธุกรรม ความเสี่ยงสูงขึ้น หากคนในครอบครัวสายตรงมีประวัติโรค AMD
3. เพศ ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากอายุยืนมากกว่า
4. ความอ้วน ความเสี่ยงสูงขึ้น ในผู้ที่มี BMI (คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง) เกิน 30 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มี BMI ต่ำกว่า
5. การสูบบุหรี่ ความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ที่สูบบุหรี่

อาการของโรค

1. มองเห็นเส้นหรือจุดสีดำ
2. การมองเห็นพร่ามัวบริเวณส่วนกลางของภาพ
3. มองเห็นสีซีดจาง
4. มองเห็นเส้นตรงกลายเป็นคลื่น
5. การมองเห็นแย่ลง เมื่อยู่ในที่แสงสว่างน้อย





ตารางเปรียบเทียบการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม (แบบเปียก)


ข้อควรปฏิบัติเพื่อให้การรักษาได้ผลดี ถ้าผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามอาจสูญเสียการมองเห็นได้

โรคจอประสาทตาเสื่อม (แบบเปียก) หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ดังนั้น
  • ผู้ป่วยควรต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ผู้ป่วยควรมาพบจักษุแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง
     
  • ช่วงแรกควรฉีดยาทุก 4 สัปดาห์ เป็นเวลา 3 - 4 ครั้ง (หรือขึ้นกับการประเมินของจักษุแพทย์) หลังจากนั้นความถี่ในการฉีดยาขึ้นกับการตอบสนองต่อการรักษาและการประเมินของจักษุแพทย์