02-056-3333

มูลนิธิอุทัย รัตนิน

โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน
โรงพยาบาลจักษุแห่งแรกในประเทศไทย

มูลนิธิอุทัย รัตนิน ก่อตั้งในปีพ.ศ.2538 โดย
คุณหญิงจำนงศรี (รัตนิน) หาญเจนลักษณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่
ศาสตราจารย์นายแพทย์อุทัย รัตนิน
ผู้มีบทบาทในการพัฒนาด้านจักษุวิทยา
และก่อตั้งโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน รวมทั้งเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์
ของท่าน ในการพัฒนาทางวิชาการและเทคโนโลยีการรักษาด้านจักษุวิทยาของไทย

จุดประสงค์

1. เพื่อพัฒนาด้านจักษุวิทยาในวงการ
จักษุแพทย์ไทย
2. เพื่อส่งเสริมวิทยาการทางจักษุวิทยา
ในวงการจักษุแพทย์ไทยและเพื่อนบ้าน
3. เพื่อดำเนินการสาธารณประโยชน์ทางด้านจักษุวิทยา

ผลงานในระยะแรก

จัดประชุมวิชาการโดยเชิญแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ
ทางด้านจักษุวิทยาจากต่างประเทศ

มาให้ความรู้แก่จักษุแพทย์ของไทย
เพื่อนำวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ
มาพัฒนาด้านจักษุวิทยาของไทย

หัวข้อการประชุม
  1. Corneal Transplantation

    (การเปลี่ยนแก้วตาดำ)
  2. Refractive Surgey (การผ่าตัดรักษาสายตา)
  3. Computers in Ophthalmology

    (คอมพิวเตอร์ในงานจักษุวิทยา)
  4. Refractive Surgery and Cataract Surgery (การผ่าตัดรักษาสายตาและการผ่าตัดต้อกระจก)

ขณะนั้นวงการจักษุแพทย์ไทยให้ความสนใจในเรื่องการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการตรวจรักษา ค้นคว้า
และทำวิจัยต่างๆ รวมทั้งความตื่นตัวเรื่องการผ่าตัดรักษาสายตาด้วยเลเซอร์ การประชุมเหล่านี้ได้รับความสนใจอย่างมาก 

ผลงานในระยะหลัง

ได้รับการสานต่อโดย
นายแพทย์สรรพัฒน์ รัตนิน


บุตรชายของ ศจ.น.พ.อุทัย รัตนิน

ผลงานของมูลนิธิฯ มีดังนี้

  1. สนับสนุนให้ทุนการศึกษาทางด้านจักษุวิทยาแก่จักษุแพทย์ไทยที่ต้องการศึกษาต่อและฝึกงานต่อในต่างประเทศ ซึ่งได้มีการมอบทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
  2. มอบทุนให้จักษุแพทย์ไทยไปประชุมที่ต่างประเทศ โดยร่วมกับสมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
    และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
  3. เป็นเจ้าภาพในการเชิญผู้เชี่ยวชาญ
    ด้านจักษุวิทยาจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย
    มาเผยแพร่ให้ความรู้

แผนงานในอนาคต

มูลนิธิฯ มุ่งที่จะสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพ
จักษุแพทย์ของไทย ด้วยการให้ทุนและส่งเสริมวิทยาการด้านจักษุวิทยา นอกจากนั้นยังเผยแพร่
ความรู้ด้านสุขภาพตาให้แก่ประชาชนทั่วไป