02-056-3333
การบริการสำหรับผู้ป่วย> ขั้นตอนการตรวจต่างๆ

ขั้นตอนการตรวจต่างๆ

1.วัดระยะการมองเห็น /
การตรวจประเมินความสามารถในการมองเห็นของสายตา

การวัดระยะการมองเห็น (Visual Acuity) คือ
การตรวจประเมินเบื้องต้น
ของความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบ
ความสามารถในการมองเห็นในแต่ละครั้งของการตรวจรักษาตา โดยจะทำการวัดระยะการมองเห็นก่อนการเข้าตรวจกับจักษุแพทย์เสมอ

  • การวัดระยะการมองเห็นนี้ ถือเป็นดัชนีชี้วัดความคมชัดในการมองเห็นของ
    ผู้ป่วย
  • สำหรับผู้ป่วยใหม่ทุกราย และผู้ป่วยเก่าที่มีผลวัดระยะการมองเห็นเดิม
    เกิน 3 เดือน หรือในทุกๆ 3 เดือน ที่ผู้ป่วยเข้ามารับการตรวจตา
  • จะต้องทำการวัดระยะการมองเห็นก่อนพบจักษุแพทย์
    หรือตามคำสั่งแพทย์
  • วัดระยะการมองเห็นได้ที่ห้องวัดระยะการมองเห็นชั้น 2
  • กรุณานำแว่นสายตาของผู้ป่วยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาด้วยทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยของผู้ป่วย

2.วัดความดันลูกตา

การวัดความดันลูกตา คือ การวัดความดันของเหลวภายในลูกตา
เพื่อประเมินค่าความดันที่เกิดจากความสมดุลระหว่างการสร้างของเหลวภายในลูกตา
และการระบายของเหลวในลูกตา ซึ่งมีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงของ

โรคต้อหิน โรคที่มีการอักเสบภายในลูกตาซึ่งทำให้ความดันลูกตาเปลี่ยนแปลง
ไปจากปกติ

  • ผู้ป่วยจะได้รับการบริการวัดความดันลูกตาด้วยเครื่องตรวจวัดความดันลูกตาอัตโนมัติในรูปแบบ ไม่สัมผัสดวงตา
    (Non-contact system) โดยใช้ระบบ ลมเป่า (Air Puff)
    ทุกครั้งก่อนการพบจักษุแพทย์ ณ ห้องวัดระยะ
    การมองเห็น ชั้น 2
  • ผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันลูกตาด้วยเครื่อง Applanation tonometer
    โดยจักษุแพทย์ในห้องตรวจ ซึ่งต้องทำการหยอดยาชาก่อนการวัดความดัน
    ลูกตา เนื่องจากต้องมีอุปกรณ์สัมผัสกระจกตา

3.วัดสายตา / บริการวัดสายตาประกอบแว่นจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

บริการวัดสายตาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อประกอบแว่นสายตา ด้วยผลิตภัณฑ์เลนส์ที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับสภาพสายตา
และลักษณะดวงตาของผู้ป่วย เพื่อประสิทธิภาพการมองเห็นและมีความปลอดภัย

4.ตรวจตาด้วยกล้องจุลทรรศน์

ตรวจดวงตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ ด้วยเครื่องตรวจตากล้องจุลทรรศน์ที่มีแหล่งกำเนิดแสงความเข้มสูงและกำลังขยายสูง

ที่ช่วยให้แพทย์เห็นโครงสร้าง
ทั้งด้านหน้าและด้านในของดวงตาได้อย่างชัดเจน

5.การขยายรูม่านตา

เนื่องจากในขณะจักษุแพทย์ทำการตรวจตาด้วยเครื่องตรวจตากล้องจุลทรรศน์ จะมีแสงสว่างส่องเข้ามาที่ดวงตาผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ม่านตาขยายตัวเข้าสู่ศูนย์กลาง
รูม่านตา ทำให้รูม่านตาหดเล็กลงเพื่อป้องกันแสงเข้าดวงตามากเกินไป

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้จักษุแพทย์สามารถดูรายละเอียดของจอประสาทตาที่เป็น
เนื้อเยื่อบางๆ ด้านในส่วนหลังของดวงตาได้กว้างมากขึ้น แพทย์จะมีคำสั่ง
ให้หยอดยาขยายรูม่านตา โดยจะทำการหยอดยา
3 ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อ
ของม่านตา (ส่วนที่เป็นสีของดวงตาของคุณ)
หดตัวเข้าไปทางเยื่อบุตาขาวทำให้
รูม่านตาขยายกว้างมากขึ้นกว่าปกติ (ส่วนที่เป็นรูวงกลมสีดำตรงกลางในดวงตา
ของคุณ) เพื่อให้แสงสามารถเข้าสู่ด้านในดวงตาได้มากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถดู
รายละเอียดของจอประสาทตาได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

โดยสภาวะที่แสงเข้าที่รูม่านตาที่ขยายกว้างนี้จะทำให้ผู้ป่วยเห็นแสงสว่างจ้ามาก
ประมาณ 4-6 ชั่วโมง อาจทำให้รู้สึกมึนศีรษะได้และมองเห็นไม่ชัดเจน จึงควร
งดเว้นการขับรถและควรมีญาติค่อยดูแลอย่างใกล้ชิด หากต้องออกไปเผชิญแสงแดด
ควรสวมแว่นตากันแดดเพื่อไม่ให้แสงเข้าสู่ดวงตามากเกินไป ในระหว่างที่รูม่านตา
ยังขยายอยู่ โดยจะใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง ที่จะทำให้ม่านตากลับมาสู่
สภาวะปกติ